สรุปข้อสอบปลายภาควิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
ข้อสอบปลายภาคเรียน รายวิชา 1042404 การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชัฏธนบุรี
1. ปรนัย 4 ตัวเลือก 10 ข้อ (เนื้อหาใน PPTX ทั้งหมด)
2. อัตนัย 2 ข้อ
2.1 เขียนวิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้รูปแบบแผนการสอนอันเก่า (5E) และรูปแบบแผนการสอนอันใหม่ (DRU Model) + บทบาทครู บทบาทนักเรียน
ขั้นที่
|
รูปแบบแผนการสอน5E
|
รูปแบบแผนการสอนDRU Model
|
1.ขั้นนำ
|
ขั้นสร้างความสนใจ
เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจซึ่งเกิดขึ้นจากความสงสัย เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว
บทบาทครู ครูเป็นผู้นำ อภิปรายตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบ ใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียน
บทบาทนักเรียน ผู้เรียนตอบคำถามและอภิปรายข้อสงสัย
|
การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้
- ใช้คำถามกระตุ้นความคิดในการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
- ใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดพัฒนาการในการเรียนรู้ โดยอาศัยแนวคิดการกำหนดเกณฑ์คุณภาพเป็นค่าระดับตามโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (SOLO Taxonomy) อันส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
- ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้หรือเลือกกลยุทธ์การเรียนรู้ของตนเอง ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ
บทบาทครู วิเคราะห์ผู้เรียน วางแผนการเรียนรู้เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมาย
บทบาทนักเรียน การตอบคำถามทำให้ผู้เรียนรู้จักว่าตัวเองมีความรู้เรื่องที่จะเรียนมากน้อยเพียงใด
|
2.ขั้นสอน
|
ขั้นสำรวจและค้นหา
เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ
ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้
ขั้นขยายความรู้
เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือความคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ
บทบาทครู เป็นผู้ชี้แนะแนวทางหรือแนะนำการปฏิบัติ สืบค้น ในขั้นขยายความรู้ส่วนมากครูจะเป็นผู้ขยายความรู้เพิ่มเติมให้ผู้เรียนฟัง
บทบาทนักเรียน สืบค้นข้อมูลและสรุป
|
ขั้นตอนการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้น คือ
1) วิเคราะห์ปัญหา
2) วางแผนแก้ปัญหา
3) จัดกิจกรรมแก้ปัญหา
4) เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
5) สรุปผลการแก้ปัญหา
บทบาทครู การตั้งประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนและค่อยแนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน
บทบาทนักเรียน สืบค้นข้อมูลแก้ปัญหาในประเด็นคำถามที่ได้มา และนำความรู้มาวิเคราะห์สรุปผล
|
3.ขั้นสรุป
|
ขั้นประเมิน
เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่าผู้เรียนมีความรู้อะไรบ้าง และมีความรู้มากน้อยเพียงใด
บทบาทครู กำหนดสิ่งที่จะประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยต้องมีเกณฑ์กำหนดด้วย ครูตอบคำถามข้อสงสัยของผู้เรียน
บทบาทนักเรียน การทำแบบทดสอบหรือการตอบคำถามจากครูรวมทั้งการตอบคำถามข้อที่ยังสงสัยกับครู
|
การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDLเพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้
เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนและครูประเมิน ตรวจสอบทบทวนตนเองและการยืนยันความถูกต้องผลผลิตตามขั้นตอนนี้คือ ผลประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิด (SOLO Taxonomy)
บทบาทครู กำหนดเกณฑ์การประเมิน และวิธีการประเมิน โดยมีการประเมินที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้เลือก
บทบาทนักเรียน ตรวจสอบความถูกต้อง ทบทวนสิ่งที่ได้เรียน สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง มีข้อสงสัยอะไรถาม ครู ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อน
|
2.2 ตารางวิเคราะห์เนื้อหาความรู้ตามรายวิชาที่เปิดสอน เทียบกับสาระความรู้ตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนด
มาตรฐานความรู้
|
วิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
|
1.ความเป็นครู
|
- ความรูเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบต่างๆ
- พัฒนาบุคคลการเลือกรูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละชั้นเรียน
|
2.ปรัชญาการศึกษา
|
- รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการ
- รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการสอนทางวิทยาศาสตร์
(กลวิธีการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน)
ด้านความรู้
- ปรัชญาสารัตถนิยม
- ปรัชญานิรันดรนิยม
ด้านผู้เรียน - ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม
ด้านสังคม - ปฏิรูปนิยม
|
3.ภาษาและวัฒนธรรม
|
- การทดลองสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น
(การพูด การสื่อสาร การเขียนและอ่าน)
|
4.จิตวิทยาสำหรับครู
|
- การจัดการเรียนรูเปนกระบวนการปฏิสัมพันธระหวางผูสอนกับผูเรียน
- การจัดการเรียนรูมีจุดประสงคใหผูเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
1.ดานความรูความคิด (พุทธิพิสัย)
2.ดานทักษะกระบวนการ (ทักษะพิสัย)
3.ดานเจตคติ (จิตพิสัย)
- การจัดการเรียนรูจะบรรลุจุดประสงคไดดีตองอาศัยทั้งศาสตรและศิลปของผูสอน
|
5.หลักสูตร
|
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
(สาระ,มาตรฐาน,ตัวชี้วัด)
- รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาบุคคลการเลือกรูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละชั้นเรียน
(สามารถนำไปพัฒนาหลักสูตรและประเมินผลและนำผลนั้นไปใช้จริงได้)
|
6.การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
|
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบต่างๆ
- รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (การจัดทําแผนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้)
- การทดลองสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น (สามารถจัดทําแผนการเรียนรู้และนําไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริง และนําไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริง)
|
7.การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
|
- รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (การจัดทําแผนการเรียนรู้แผนใหม่ การจัดการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้)
- รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับการสอนวิชา ชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์เพื่อพัฒนาบุคคลการเลือกรูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละชั้นเรียน (สามารถจัดทําแผนการเรียนรู้แบบใหม่และสามารถสร้างบรรยากาศการจัดการชั้นเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบไม่น่าเบื่อและหลากหลายแบบให้ผู้เรียนเป็นคนเลือก)
- การทดลองสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น (สามารถทำวิจัยในการพัฒนาผู้เรียนได้)
|
8.นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
|
- การทดลองสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น (ประยุกต์ใช้และประเมินสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้)
- การใช้ PPTX,E-book
|
9.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
|
- การทดลองสอนตามรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น
(สามารถนำผลการประเมินไปใช้ ในการพัฒนาผู้เรียน)
|
10.การประกันคุณภาพการศึกษา
|
การประกันคุณภาพภายใน เป็นการสร้างระบบและกลไกในการพัฒนาติดตามตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายเป้าหมายและระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสถานศึกษาและหรือหน่วยงานต้นสังกัด
การประกันคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ)
(จะทำให้สามารถจัดการคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถดําเนินการจัดกิจกรรมประเมินคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้)
|
11.คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
|
- จรรยาบรรณความเป็นครู
- จรรยาบรรณในการวิจัยในชั้นเรียน
|
12.การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
| |
13.การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
|
นางสาววีณา มั่นน้อย รหัสนักศึกษา 5641060148
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กลุ่ม 12 รุ่น 56 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น